+66 (0) 2539-9696, +66 (0) 2539-8899 mkt@logman.co.th

Office Address

  • 68 Soi Nakniwat 6, Nakniwat Road, Lat Phrao, Lat Phrao, Bangkok 10230
  • info@logman.co.th
  • +66 (0) 2539 9696

Social List

ttb analytics คาดปี 2566 ตลาดบรรจุภัณฑ์ไทยเติบโต 4.0%

ttb analytics คาดปี 2566 ตลาดบรรจุภัณฑ์ไทยเติบโต 4.0%

ttb analytics คาดปี 2566 ตลาดบรรจุภัณฑ์ไทยเติบโต 4.0%

ปี 2566 คาดมูลค่าตลาดบรรจุภัณฑ์รวมเติบโต 4.0% โดยบรรจุภัณฑ์กระดาษเติบโตสูงสุด เติบโตรองลงมาเป็นบรรจุภัณฑ์โลหะ และบรรจุภัณฑ์พลาสติก ตามลำดับ

 

ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีทีบี หรือ ttb analytics คาดว่าแนวโน้มตลาดบรรจุภัณฑ์ของไทยในปี 2566 จะขยายตัว 4.0% อยู่ที่ 6.69 แสนล้านบาท ตามการฟื้นตัวเศรษฐกิจในประเทศ ภาคการท่องเที่ยว ส่งผลทำให้การค้าขายดีขึ้น โดยแบ่งผลการประเมินทิศทางแนวโน้มมูลค่าตลาดบรรจุภัณฑ์ 3 ประเภท ดังนี้

1. บรรจุภัณฑ์กระดาษคาดว่าจะขยายตัว 7.0% โดยมีมูลค่าตลาดอยู่ที่ 2.22 แสนล้านบาท โดยในปี 2566 บรรจุภัณฑ์กระดาษจะยังคงได้รับผลดีจากแนวโน้มการค้าออนไลน์ (E-Commerce) ที่ยังคงเติบโตต่อเนื่อง ซึ่ง ttb analytics ประเมินว่าการเติบโตการค้าออนไลน์จะทำให้ธุรกิจขนส่งพัสดุขยายตัวกว่า 18% ในปี 2566 ซึ่งจะส่งผลทำให้ความต้องการบรรจุภัณฑ์กล่องกระดาษสำหรับห่อสินค้ามีมากขึ้น นอกจากนี้ บรรจุภัณฑ์กระดาษสำหรับการห่ออาหารก็ยังคงเติบโตเช่นกัน เนื่องจากได้ความนิยมจากร้านค้าในการนำไปทดแทนบรรจุภัณฑ์ถุงพลาสติกที่ภาครัฐรณรงค์ให้ใช้น้อยลง

2. บรรจุภัณฑ์โลหะคาดว่าจะขยายตัว 4.4% โดยมีมูลค่าตลาดอยู่ที่ 1.10 แสนล้านบาท โดยได้รับผลดีจากเศรษฐกิจในประเทศฟื้นตัวตามภาคการท่องเที่ยวและการบริโภคเอกชนที่ดีขึ้น ส่งผลทำให้ความต้องการบรรจุภัณฑ์โลหะกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับอาหารและเครื่องดื่มปรับตัวดีขึ้น โดยประเมินว่า กลุ่มบรรจุภัณฑ์กระป๋องเครื่องดื่ม กระป๋องบรรจุอาหารและผลไม้สำเร็จรูป แผ่นอะลูมิเนียมฟอยล์ จะขยายตัวได้ 5.0% ในขณะที่กลุ่มบรรจุภัณฑ์ที่ทำจากโลหะอื่น ๆ เช่น ถังแก๊ส ถังเหล็กหูหิ้ว กระป๋องพ่นสี หลอดเครื่องสำอาง ฯลฯ คาดว่าจะขยายตัว 3.0% ทั้งนี้ บรรจุภัณฑ์โลหะสามารถใช้ซ้ำ (Reuse) และนำไปผลิตแล้วกลับมาใช้ใหม่ได้ (Recycle) ประเมินว่าจะส่งผลต่อความต้องการใช้เพื่อทดแทนการใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติกในอนาคต

3. บรรจุภัณฑ์พลาสติกคาดว่าจะขยายตัว 1.9% โดยมีมูลค่าตลาดอยู่ที่ 3.37 แสนล้านบาท เนื่องจากในปี 2566 เศรษฐกิจในประเทศทยอยฟื้นตัวตามการท่องเที่ยวและการบริโภคเอกชนที่ดีขึ้น ทำให้กลุ่มบรรจุภัณฑ์พลาสติกที่เกี่ยวข้องกับอาหารและเครื่องดื่ม ได้แก่ ฟิล์มและกล่องพลาสติกสำหรับบรรจุอาหาร ขวดพลาสติก ฯลฯ ยังคงเติบโตได้ต่อเนื่อง โดยคาดว่าจะขยายตัว 5.5% และ 2.0% ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม ความต้องการใช้ถุงพลาสติกคาดว่าจะลดลง 3.0% สาเหตุจากปริมาณการใช้ถุงพลาสติกที่ลดลง ตามแผนจัดการขยะพลาสติก พ.ศ. 2561-2573 โดยกรมควบคุมมลพิษ ที่มุ่งเน้นให้ขยะพลาสติกที่ย่อยสลายยากในประเทศลดลง ด้วยการรณรงค์ให้ประชาชนลดการใช้ถุงพลาสติกลง

อ่านเพิ่ม

Social Share: